วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่2-การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้
เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัด
จึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบน
เพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยก
ปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้
ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆ
ทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ
1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม
ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาด
มักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง
มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมี
ขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสีย
หายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดู
เพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้[การเลี้ยงปลากัด]


1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน
ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว
2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัด
ีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่า
ของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย
สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่า
ลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลากัดตัวเมีย
แม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้ว จึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่ ี่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุรา
ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหา
ได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวด
พิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้น
เปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่ง
ทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็น
ขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภท
หรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย
ในท้องตลาด

นอกจากนั้นแล้วต้องหาสถานที่ๆ ค่อนข้างจะสงบเงียบ
และมีอากาศถ่ายเทได้ดีจะเหมาะกับการเลี้ยงปลากัดมากๆ โดย เฉพาะในฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อุณหภูมิน้ำสูงเกินไป
อันจะเป็นสาเหตุ ให้ปลาตายได้ อุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่ควร ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส ควรอยูุ่่ระหว่าง
26-28 องศาเซลเซียส หากเป็นช่วงหน้าหนาวก็ไม่
ควรให้ต่ำกว่า 20องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ปลา
ไม่กินอา่หารและทำให้้ปลาตายได้

ภาชนะที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัดควรเป็นภาชนะขนาดเล็กที่ไม่
สิ้นเปลืองพื้นที่ มีช่องเปิดไม่กว้่างเพื่อป้องกันปลากระโดด
และป้องกันศัตรูของปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ ภาชนะที่เหมาะสม ที่สุดที่ควรนำมาใช้ในการเลี้ยงปลากัดได้แก่
ขวด(สุรา) ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถวางเร่ยงกันได้ดีไม่สิ้นเปลืองพื้นที่ และ
ปากขวดแคบๆ สามารถป้องกันปลา
กระโดดและป้องกันศัตรูได้เป็นอย่างดี และหากมีเนื้อที่น้อยก็สามารหถทำชั้นวางขวดปลากัด
เป็นชั้นๆ แบบขั้นบันไดได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่1

การเลี้ยงปลากัดสีสวยเพาะพันธุ์ง่าย
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดหรือการเลี้ยงปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย
-การเลี้ยงปลากัดเพื่อการค้าหรือการเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม