วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]

การอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]
เมื่อการผสมพันธุ์เสร็จสิ้นลง แม่ปลากัดได้ไห้ไข่จำนวนมาก ให้จับแม่ปลากัดออกจากบ่อเพาะเลี้ยง ควรจะกระทำอย่าให้กระทบกระเทือนกับไข่ที่อยู่ในหวอด ปล่อยให้พ่อปลากัดคอยดูแลไข่ต่อไป ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ภายใน 36 - 48 hour ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ก็จะเริ่มฟักเป็นตัว ในระยะนี้เรียกว่า "หมัดหมา" จะเกาะกันแน่นอยู่ภายในหวอด โดยมีพ่อปลากัดคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกปลากัดเมื่อเป็นตัวใหม่ ๆ ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ต้องอาศัยแขวนลอยอยู่ในหวอด เมื่อร่วงหล่นลงมา พ่อปลากัดจะตามลงไปอมมาพ่นไว้ในหวอด ลูกปลาในช่วงนี้ยังไม่ต้องการอาหารเพราะมีถุงไข่แดง (Yolk Sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นในช่วงระยะ 2 - 3 dayแรกยังไม่จำเป็นที่จะให้อาหาร ลูกปลาในครอกหนึ่ง ๆ นั้นการเจริญเติบโตจะไม่เท่ากัน "ปลาหัวไข่" หมายถึงไข่ปลาที่ถูกรัดในทีแรก ๆ เมื่อเป็นตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าและเจริญเติบโตได้เร็วกว่าลูกปลาที่ถูกรัดใน ตอนหลัง จึงควรคำนึงถึงข้อนี้ด้วยว่าลูกปลาต้องการอาหารเมื่อไร


จากการวิจัย โดยอาจารย์dayเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ ถึงการเจริญเติบโตของลูกปลากัดตั้งแต่อายุได้ 1 ถึง 30 day พบว่า ลูกปลากัดอายุ 1 day ตัวอ่อนจะแขวนลอยตัวอยู่ในหวอด ส่วนหัวคล้ายลูกน้ำ บริเวณท้องจะมีถุงสะสมอาหารมองเห็นเป็นถุงกลมพบมีรงควัตถุสีดำบริเวณหัวและ ถุงสะสมอาหาร ลำตัวมีลักษณะสีขาวขุ่น มีเยื่อครีบเกิดขึ้นรอบ ๆ ลำตัวจะเจริญต่อไปเป็นครีบ ครีบก้น และครีบหาง สังเกตุเห็นครีบอกได้เด่นชัด เริ่มสังเกตุเห็นปากและรูก้น ตามีสีดำและเด่นชัด ลูกปลาอายุ 2 day ตัวอ่อนยังแขวนลอยติดกับหวอด ถุงสะสมอาหารของตัวอ่อนจะเริ่มยุบลงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด รูก้นยื่นจากลำตัวเห็นชัด เริ่มสังเกตุเห็นรอยแยกระหว่างกระพุ้งแก้มกับลำตัว กระดูกสันหลังเจริญดีขึ้นซึ่งเป็นแกนของลำตัว ลักษณะเป็นข้อ ๆ และก้านยื่นตามแนวเหมือนหนามเกิดขึ้นในแต่ละข้อ ลูกปลาอายุ 3 day ตัวอ่อนจะมีถุงอาหารยุบลงเหลือเพียงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด พร้อมที่จะกินอาหาร เยื่อครีบยังไม่แยกออกเป็นครีบหาง ครีบก้น ครีบหลัง และเริ่มสังเกตุเห็นระบบทางเดินอาหาร ลูกปลาอายุ 4 day ตัวอ่อนลูกปลาเริ่มว่ายน้ำสลับกับลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ถุงอาหารยุบหมด เห็นระบบทางเดินอาหารเด่นชัดขึ้น และมีกระเพาะลมเกิดขึ้นเหนือทางเดินอาหาร เยื่อครีบเริ่มคอดเว้าแบ่งส่วนของครีบหาง ครีบก้น และครีบหลัง ลูกปลาอายุ 5 day ตัวอ่อนลูกปลาจะเริ่มแข็งแรงขึ้น บริเวณท้องมีสีเข้มทึบไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ ส่วนของเยื่อครีบจะเกิดป็นครีบ และครีบหางเริ่มกลมมน ลูกปลาอายุได้ 6 - 9 day ตัวอ่อนของลูกปลาจะมีส่วนท้องหนาเพิ่มขึ้น กระดูกบริเวณส่วนหางจะโค้งงอขึ้น เริ่มสังเกตุเห็นก้านครีบของครีบหาง แต่ก้านครีบยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลักษณะของกระดูกสันหลังเห็นข้อและหนามที่ยื่นออกมาตามข้อเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ลูกปลาอายุ 10 day ลูกปลาจะเริ่มหากินเหมือนกับตัวเต็มวัย เยื่อครีบแบ่งออกเป็นครีบหลัง ครีบหางมีก้านครีบ 8 ก้าน แต่ไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ และเห็นครีบก้นอย่างชัดเจน ลูกปลาอายุ 15 day ลูกปลาจะเริ่มมีลำตัวทึบแสง ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน เห็นกระเพาะลมเด่นชัด ครีบหางเปลี่ยนเป็นรูปกลมมน มีก้านครีบ 10 ก้าน ยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลูกปลาอายุ 30 day ลูกปลาจะมีลำตัว หนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทึบแสงไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน มีรงควัตถุกระจายบริเวณลำตัวและหัวมี แถบสีดำ 2 แถบขนานกันอยู่กลางลำตัวจากหัวไปถึงโคนหาง ครีบก้นมีก้านครีบ 27 ก้าน ครีบหลัง มีก้านครีบ 11 ก้าน มีลักษณะเหมือนกับตัวเต็มวัย

"ลูกหมัดหมา"ที่อาศัยแขวนลอยในหวอด

การอนุบาลลูกปลา หลังจากที่ถุงอาหารเริ่มยุบลง และลูกปลาเริ่มว่ายน้ำได้แข็งแรง ให้สังเกตุเมื่อเวลามีสิ่งแปลกปลอมผ่านบริเวณบ่อเพาะเลี้ยง ลูกปลาจะว่ายน้ำพุ่งไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็ว ลูกปลาเริ่มต้องการอาหารใน การเจริญเติบโต อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลา ได้แก่ โรติเฟอร์ ลูกไรแดง ลูกอาร์ทีเมีย เมี่อลูกปลาเริ่มโตขึ้นก็เปลี่ยนเป็น ไรแดง อาร์ทีเมีย ตัวเต็มวัย หรือลูกน้ำต่อไป

โรติเฟอร์ เป็นอาหารมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการอนุบาลลูกปลาในวัยอ่อนได้ดี มีขนาดเล็กมาก และมีคุณค่าทางอาหารสูง และเคลื่อนไหวได้ช้า มีหลายสายพันธุ์ทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม (ติดตาม การเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์ ได้ใน คนรักปลา.คอม)  ไรแดง เป็นอาหารธรรมชาติที่ดีอีกชนิดหนึ่งในการอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]  มีคุณค่าทางอาหารสูง และหาได้ง่าย การเพาะเลี้ยงไรแดง อาร์ทีเมีย ไรน้ำสีน้ำตาลหรือไรน้ำเค็ม เป็นแพลงค์ตอนสัตว์น้ำเค็ม มีคุณค่าทางอารหารสูง มีราคาไม่แพง แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถอาศัยอยูในน้ำจืดได้นาน การเพาะเลี้ยงไรน้ำเค็มอาร์ทีเมีย


การหาอาหารใช้เลี้ยงลูกปลา นั้นบางครั้งจะต้องหาอาหารที่ลูกปลาสามารถกินได้ ไม่ใหญ่จนเกินไป มีวิธีบางอย่างที่สามารถช่วยให้ลูกปลานั้นมีอัตราการรอดสูง ต้องคำนึงถึง ขนาดที่พอดีกับปาก ปริมาณที่ให้ และจำนวนลูกปลาที่มีอยู่ ความสะอาดของอาหารที่ให้ด้วย การใช้ไรแดง เป็นอาหารลูกปลา วิธีง่าย ๆ เมื่อซื้อมาหรือไปหามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ทำความสะอาดด้วยการเทไรแดงที่ได้มาใส่กะละมังที่มีน้ำสะอาดใส่อยู่ รอสักพักเพื่อให้ไรที่มีชีวิตลอยขึ้นผิวน้ำเป็นแพ ใช้กระชอนตาถี่ ๆ ช้อนไรแดงนั้นใส่ในกะละมังที่มีน้ำสะอาดอีกใบหนึ่ง จนกว่าจะหมด เมื่อได้ไรแดงที่อยู่ในน้ำสะอาดให้หาขันพลาสติกที่ใส่น้ำสะอาด ไว้อีกหนึ่งใบ ช้อนไรแดงที่ลอยบนผิวน้ำในกะละมังด้วยกระชอนตาถี่ ๆ แล้วนำกระชอนนั้นไปแช่ไว้ในขัน โดยให้ปากของกระชอนพาดอยู่ที่ขอบของขันพลาสติก ทิ้งไว้เฉย ๆ ตัวอ่อนของไรแดงที่มีขนาดเล็กจะหลุดออกมาจากกระชอนอยู่ในขันพลาติกจำนวน มาก ใช้อนุบาลลูกปลาได้ดี การที่จะได้ตัวอ่อนของไรแดงจำนวนมาก ให้นำไรแดงที่ได้มาใส่กะละมังทิ้งไว้ข้ามคืน โดยเปิดเครื่องปั้มอากาศไว้ แล้วใช้แป้งหมี่ที่มีขายตามร้านชำทั่วไปมาใส่แก้วแช่น้ำไว้ตีให้เข้ากัน ทิ้งไว้สัก 10 นาที ตีให้เข้ากันอีกครั้ง ( ถ้าทิ้งข้ามคืนไว้ยิ่งดีมาก) ใช้ช้อนแกงตักน้ำแป้งที่ได้ใส่ลงไปในกะละมังไร แดง 3 hourต่อครั้ง ๆ ละ 3 - 4 ช้อนแกง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนไรแดงที่ได้มา เวลาผ่านไปไรแดงที่มีความสมบูรณ์จะ ให้ตัวอ่อนจำนวนมาก ให้ใช้วิธีเดิมในการกรองตัวอ่อน นำไปเลี้ยงลูกปลาได้ เช่นเดียวกันสำหรับไรทะเล หรืออาร์ทีเมีย จากบทความในการเพาะไรน้ำเค็ม ให้ตีน้ำเกลือ โดยใช้อัตราส่วน เกลือ 300 กรัม (3 ขีด): น้ำ 1 ลิตร นำไรทะเลที่ซื้อมาใส่ลงไปทิ้งไว้ข้ามคืน โดยใช้วิธีเดียวกับไรแดง เราจะได้ตัวอ่อนของอาร์ทีเมียจำนวนมาก แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ที่ได้เพาะฟักจากไข่อาร์ทีเมียเล็กน้อย วิธีที่ได้กล่าวมานี้ได้ผ่านการทดลองและใช้งานจริงมาแล้วได้ผลดี ข้อเสียที่มีคือ ไรแดงและไรทะเลที่ใช้วิธีนี้ได้ไม่เกิน 2 day จำนวนตัวอ่อนจะลดน้อยลง ควรนำไรแดงและไรทะเล ไปให้ปลากัดที่มีขนาดใหญ่กินต่อไป และเริ่มทำอีกจนกว่าลูกปลาสามารถกินตัวเต็มวัยได้

หมายเหตุ พ่อปลากัดที่เลี้ยงลูกอยู่ในระยะแรก การให้อาหารควรจะเป็นไรแดง จะเหมาะสมที่สุด ไรแดงที่สมบูรณ์จะให้ตัวอ่อนจำนวนมาก ขณะที่พ่อปลากัดกินไม่หมด ไรแดงจะให้ตัวอ่อนซึ่งพ่อปลากัดไม่สามารถมองเห็นได้ ปลาหัวไข่ที่ต้องการอาหารก่อนจะได้ใช้อาหารส่วนนี้ในการเจริญเติบโต การทำเช่นนี้เรียกว่า "การลอยไร"

การใช้อาหารทดแทนเพื่ออนุบาลลูกปลา ระยะเริ่มแรกลูกปลาต้องการอาหารโปรตีนจำนวนมาก การใช้อาหารทดแทนในช่วงแรกด้วยการใช้ไข่แดงต้มสุก ไม่ว่าจะเป็น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ก็ตาม มีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนอาหารมีชีวิตที่มีขนาดเล็กได้ คือ ต้มไข่ให้สุกในน้ำเดือดนาน ๆ จนแข็ง นำเฉพาะไข่แดงที่ได้มาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มาขยี้ผ่านกระชอนตาถี่ในชามที่ ใส่น้ำไว้เล็กน้อย เมื่อได้ไข่แดงที่ละเอียดดีแล้วให้เทใส่ ฟ๊อกกี้ (ที่ฉีดพ่นน้ำสำหรับรีดผ้า) เติมน้ำลงไปอีก นำไปฉีดพ่นใส่แก้วน้ำที่ใส่น้ำไว้เต็มแก้ว สังเกตุดูละออองของไข่แดงในแก้วน้ำว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใด ถ้ามีความหนาแน่นมากให้เติมน้ำลงไปอีก จนสังเกตุได้ว่าละอองไข่แดงแยกกระจายดีไม่เกาะกันเป็นกลุ่มหนาแน่น ความหนาแน่นของละอองไข่ถ้ามากและลูกปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ (การทดสอบเพื่อให้ทราบความหนาแน่นของละอองไข่จึงจำเป็นมาก ละอองไข่ที่ไม่หนาแน่นจะค่อย ๆ จมลงสู่ก้นบ่อเพาะอย่างช้า ๆ พอดีกับที่ลูกปลากินได้ทัน และไม่มากจนเกินไป ป้องกันน้ำเสียได้ดี) นำไปฉีดพ่นในบ่อเพาะเลี้ยงปลากัด เพื่อใช้แทนอาหารมีชีวิตได้ดีในช่วงแรกของการอนุบาลลูกปลา

ข้อควรคำนึงในการอนุบาลลูกปลา การ ใช้อาหารเพื่ออนูบาลลูกปลาควรให้แต่พอเพียงในครั้งหนึ่ง ๆ เท่านั้น ถ้าเป็นไรน้ำจืดก็จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ถ้าเป็นไรทะเล ที่อาศัยในน้ำทะเลซึ่งไม่สามารถอาศัยในน้ำจืดได้นาน จึงควรระวังให้ดี ในกรณีที่นำพ่อปลากัดออกเร็ว ต้องคอยระวังลูกน้ำชนิดหนึ่ง ที่ดูดเอาน้ำเลี้ยงของลูกน้ำอีกชนิดหนึ่งเป็นอาหาร ผมไม่ทราบว่าเป็นสายพันธุ์ใหน ลูกน้ำนั้นสามารถจับลูกปลามาดูดน้ำเลี้ยงภาย ในตัว ครั้งหนึ่ง ๆ จะมีลูกน้ำชนิดนั้นจำนวนมากในบ่อเพาะ ต้องตักออกจากบ่อเพาะเลี้ยงทันที การเอาพืชน้ำมาเพาะปลาก็ควรจะทำความสะอาดให้ดี อาจมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่พึงปราถนาปะปนมา โดยเฉพาะตัวอ่อนของแมลงปอ เพียงชั่วคืนลูกปลาจะหายไปหมด การอนุบาลไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีความพิถีพิถันสักเล็กน้อย ถ้าได้ทำการเพาะเลี้ยงบ่อยเข้าจะทำได้อย่างไม่ติดขัด ขอให้ท่านที่เริ่มเพาะปลากัดประสบความสำเร็จกันทุกท่านครับ   

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]

การเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] 

 ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ปลานักรักผู้ใหญ่ยิ่ง เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลาชนิดที่ออกเป็นไข่ เพื่อฝึกฝนการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา เอาไว้เป็นทุนในการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นที่มีราคาแพงต่อไป หรือจะเพาะเลี้ยงปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เพื่อเป็นอาชืพเสริมรายได้ก็ยังได้ ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นปลาที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีความเป็นธรรมชาติสูง ราคาไม่แพงและเป็นปลาที่เพาะได้ตลอด ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นปลาที่มีอวัยวะที่ช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า Labyrinth เราจึงเห็นปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ชอบขึ้นมาหุบอากาศเพื่อหายใจ ดังนั้นปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]จึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดและไม่มีอากาศได้นาน ๆ

     ปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเป็น อาชีพ การพัฒนาดังกล่าวนี้ทำให้ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]มีสีสันมากมาย เรียกได้ว่าเกือบทุกสีแล้วในขณะนี้ บางสีมีราคาแพงมาก ถ้าผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ขั้นเริ่มต้นขอแนะนำให้เพาะเลี้ยงปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่มีราคาไม่แพงนักเพื่อฝึกฝนการ เพาะไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมั่นใจแล้วจึงลงทุนใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาต่อไป มีเรื่องอ้างอิง กันมาแต่โบราณว่าปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]แค่มองตากันก็ท้องแล้ว ระวังนะสาว ๆ ห้ามมองตาหนุ่มที่ใหน การพบไข่ของปลาทั่วไปนั้น เมื่อปลาตัวเมียสมบูรณ์เพศแล้วรังไข่ก็จะสร้างไข่ขึ้นมาเป็นธรรมชาติ การเทียบปลาตัวผู้และตัวเมียของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นการเร่งไข่ให้แก่และทำความพร้อม ให้กับตัวเมียในการออกไข่ ปลาตัวเมียเองเมื่อไข่แก่เต็มที่แล้วไม่มีตัวผู้มาผสมพันธุ์ก็จะปล่อยไข่ออก มาเอง หรือบางตัวจะก่อหวอดเองและนำไข่ที่ร่วงออกมาไปไว้ในหวอดเหมือนตัวผู้เลย แต่สุดท้ายก็กินไข่เหล่านั้นเข้าไป การผสมพันธุ์ของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ปลาพ่อและแม่จะช่วยกันจนเสร็จสิ้น สุดท้ายก็กับสู่ภาวะปกติ ตัวผู้ก็จะไล่กัดตัวเมียและเริ่มดุมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำปลาตัวเมียออกจากบ่อเพาะเมื่อจบการผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันการสูญเสียแม่พันธุ์ มีคนเคยกล่าวถึงการเทียบคู่ของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]นั้นจะทำให้ลูกปลาที่ได้ออกมานั้นมี ลักษณะสีสันเหมือนกับพ่อพันธุ์ ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่มีสีสันเช่นนั้นอาจได้มาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของปลาแม่พันธุ์ไป ยังลูกปลา มีผู้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาปรับเปลี่ยนโดยการวาดรูปปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่มีสีสันตามต้อง การ มาตั้งเทียบปลาแม่พันธุ์ไว้ วิธีการนี้มีมานานแล้วถึงแม้ว่าไม่มีบทพิสูจน์ในทางวิชาการก็ตามแต่ก็ได้รับ การยืนยันจากนักเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]จำนวนหนึ่งถึงผลที่ได้รับว่า ในครอกหนึ่ง ๆ จะมีลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนภาพวาดด้วยเช่นกัน ใครสนใจจะนำไปใช้ก็ไม่มีปัญหา แต่ขอบอกใว้ว่าปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ต้องผสมพันธุ์กันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นะครับ ไม่ใช่มองกันอย่างเดียวก็ได้ลูกปลาแล้ว

การคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ก่อนอื่นที่จะกล่าวถึงเกี่ยวกับการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] เราจะต้องนึกอยู่ในใจว่าเหตุผลเช่นไรที่จะเพาะเลี้ยงปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] การเพาะเลี้ยง ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เพื่อฝึกฝนก็ไม่จำเป็นอะไรมากนัก มีตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัวที่สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากต้องการเพาะเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่นการบีบสี ก็จำเป็นจะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีสันตามที่ต้องการทั้งตัวผู้ตัวเมีย หรือไม่มีก็ต้องหาตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การเพาะเพื่อส่งประกวด ก็จำเป็นจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ และมีความสวยงาม การเพาะเพื่อการค้า ก็จำเป็นที่จะต้องดูตลาด ว่าความต้องการขณะที่เพาะนั้นตลาดต้องการสายพันธุ์ใหนและต้องการสีอะไรอีก ด้วย ดังนั้นการเพาะปลาจึงจำเป็นที่จะต้องคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ให้ตรง กับจุดประสงค์ที่เพาะด้วย การเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ความสมบูรณ์ของปลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ มี สุขภาพที่แข็งแรง บางครั้งมองดูจากภายนอกก็ไม่สามารถทราบถึงความสมบูรณ์ของปลาได้ เมื่อได้ไปหาพ่อแม่พันธุ์มาจากที่ใดก็ตามจะต้องนำมาให้อาหารอย่างอุดม อีกทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วยเช่น น้ำ ภาชนะที่ใส่ บริเวณที่วางภาชนะเลี้ยง ก็ต้องดูแลให้เป็นพิเศษด้วย เป็นต้น การเลือกพ่อแม่พันธุ์ถ้าสามารถเลือกได้ ก็จะต้องเลือกที่มีลักษณะที่แข็งแรง ไม่มีลักษณะทีครีบไม่กาง ผอมหัวโต ไม่ก่อหวอด นอนหวดตลอด และก็อย่าลืมจุดประสงค์หลักที่เพาะเพื่ออะไรด้วย



การเทียบคู่ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างดุ การเพาะพันธุ์แต่ละครั้งปลาตัวผู้จะต้องแสดงลีลารักไปทางรุนแรงสักนิด แต่นี่ก็คือวิถีชีวิตของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่จะต้องเป็นเช่นนี้ การเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]โดยไม่มีการเทียบเลยก็สามารถที่จะเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ได้ แต่ทั้งนี้อาจเกิดการสูญเสียได้ ทั้งพ่อปลาและแม่ปลา การเทียบปลาจึงจำเป็นสำหรับการเพาะปลา คือปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะได้มีความคุ้นเคยกันช่วยลดความรุนแรงลงได้ส่วน หนึ่ง อีกทั้งแม่ปลาที่สมบูรณ์และมีไข่ในท้องก็เริ่มตื่นตัวและมีการเร่งไข่เหล่า นั้นให้สุกงอมเต็มที่ และยอมให้ตัวผู้รัดด้วยความสมัครใจ การเทียบปลาไม่มีอะไรมากนัก เพียงแต่นำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ใส่โหลคนละใบมาวางเทียบกันโดยไม่มีอะไรมา ขวางกั้น ให้ปลาทั้งคู่มองเห็นกันเท่านั้น ในขั้นตอนการเทียบปลานี้นักเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ควรใช้การสังเกตุหลายสิ่งถึงความพร้อม ในการผสมพันธุ์ โดยให้คอยสังเกตุพ่อปลาว่าเมื่อได้มีการเริ่มต้นเทียบปลา พ่อปลามีความคึกคักที่ได้เห็นตัวเมียแสดงลีลาเชิงจีบสาวแบบสุดเหวี่ยง ในไม่ช้าพ่อปลาจะเริ่มก่อหวอด ส่วนแม่พันธุ์ให้สังเกตุไข่นำที่ไต้ท้องว่ามีลักษณะยื่นออกมา มีท้องที่อูมเป่ง เมื่อเวลาพ่อปลาแสดงลีลารักเข้าหา แม่ปลาจะว่ายเข้าหาในทันทีและว่ายในลักษณะทิ่มหัวเข้าหา แสดงสีเป็นแนวขวางตามลำตัวเห็นได้ชัดเจน มีเท่านั้นหละครับแสดงว่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงปรงใจได้เสียกันแล้ว เทคนิคในการเทียบคู่เป็นเทคนิคของนักเพาะแต่ละคนโดยไม่มีการวางไว้ตายตัว อาทิ บางคนจะเทียบปลาโดยเอาแม่ปลาไว้ตรงกลางบ่อเพาะ ปล่อยตัวผู้ว่ายไปมาอย่างอิสระ บางคนใช้พ่อปลาตัวหนึ่งเทียบ เวลาลงรัดใช้พ่อปลาอีกตัวหนึ่ง บางท่านเทียบปลาด้วยตัวเมียกันเองนำใส่โหลวางเป็นแถวหน้ากระดาน การเทียบปลาโดยปกติแล้วควรเทียบปลาและให้อาหารทั้งพ่อปลาแม่ปลาอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเปลี่ยนน้ำให้ปลาสดชื่นบ้าง อย่างน้อยใช้เวลา 7 วัน ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตุด้วยว่าปลาพร้อมผสมพันธุ์แล้วหรือไม่ บางครั้งจำนวนวันเทียบอาจจะมากหรือน้อยได้เมื่อพ่อแม่พันธุ์ปลาพร้อมที่จะทำ การผสมพันธุ์ สำหรับนักเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]รุ่นใหม่ขอแนะนำให้ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุสักนิด และใช้เวลาเทียบปลาจนกระทั่งพร้อมเต็มที่ ด้วยเหตุผลที่ว่าลูกปลาที่ได้ เมื่อฟักออกมาจะมีลักษณะค่อนข้างตัวโตและแข็งแรง ส่วนแม่ปลาที่มีอายุน้อยเมื่อนำมาเพาะ หรือไข่ยังไม่สุขเต็มที่ ลูกปลาที่ได้จะไม่ค่อยแข็งแรงและอาจตายยกครอกได้

การเตรียมสถานที่เพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] ขณะเมื่อทำการเทียบคู่ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]อยู่ต้องคำนวนระยะเวลาการเทียบปลาให้ใกล้เคียง กับการเตรียมภาชนะเพาะปลาด้วย ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อรอง ฯลฯ ส่วนการใช้น้ำที่ใส่ในภาชนะเพาะไม่ควรจะเป็นน้ำที่แก่จัด (น้ำที่กักเก็บมา นานวัน) ควรจะเป็นน้ำใหม่ที่ไม่มีสารพิษเจือปนเท่านั้น โดยทั่วไปก็ใช้น้ำประปาใส่ภาชนะข้ามคืนก็พอแล้ว มีนักเพาะบางท่านเคยกล่าวไว้ว่าการใส่ใบหูกวางลงไปสักนิดหน่อยในภาชนะเพาะ เพื่อปรับค่ากรด-ด่าง ช่วยให้ได้ปลาตัวผู้มากกว่าตัวเมีย ผมเคยลองแล้วก็ได้ผลดีทีเดียว ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ชอบก่อหวอดและวางไข่ริมตลิ่งที่น้ำไม่ลึกมาก การเติมน้ำลงในภาชนะเพาะก็ไม่ควรเติมน้ำลงไปมากนัก เติมเพียง 15 ซ.ม. ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การเตรียมสภาพแวดล้อมก็มีส่วนช่วยให้การเพาะฟักให้เป็นไปด้วยดี เคยได้กล่าวไว้แล้วว่าปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นปลาที่ความเป็นธรรมชาติสูง การเตรียมสภาพแวดล้วมทั้งในภาชนะเพาะและบริเวณที่ใช้เพาะก็ต้องคำนึงถึงด้วย ผลสำเร็จในการเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ก็เป็นไปได้สูง กล่าวคือในภาชนะที่ใช้เพาะนอกจากน้ำที่ดีแล้วควรใส่ความเป็นธรรมชาติลงไป ด้วย เช่น ใส่สาหร่ายและใบไม้ลอยบนผิวน้ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นใบมะยม ใบบอน เพื่อให้พ่อปลาไว้ก่อหวอด และนำภาชนะเพาะไปไว้ในที่สงบ ๆ เท่านั้นเป็นอันเสร็จสิ้น



การเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] เมื่อได้เตรียมทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเทียบคู่ การเตรียมภาชนะและบรรยากาศต่าง ๆ ในการเพาะฟัก มาถึงขั้นตอนการการปล่อยพ่อปลาและแม่ปลาลงเพาะ เมื่อมั่นใจแล้วว่าปลาทั้งคู่พร้อมแล้วที่จะทำการผสมพันธุ์ ให้นำพ่อปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ปล่อยลงในภาชนะเพาะก่อนแล้วปล่อยให้สำรวจสถานที่ไปจนพ่อปลา แน่ใจและหาที่ก่อหวอดสร้างรังได้ในภาชนะเพาะ หลังจากนั้นช่วงเวลาใกล้ค่ำให้ปล่อยปลาแม่ปลาลงไป ปลาพ่อพันธุ์จะพองเข้าใส่แม่ปลา และไล่กัดบ้างบางครั้ง ไม่ต้องตกใจโดยธรรมชาติของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นเช่นนั้น ปลาแม่พันธุ์ที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์จะไม่หนีและทำหน้าตาน่ารักเป็นเชิงบอก ว่า ยอมแล้วจ้าที่รัก อย่าลืมปิดภาชนะที่ใช้เพาะให้มิดชิดเพื่อไม่เป็นการรบกวนคู่บ่าวสาว เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วพ่อปลาก็จะเริ่มก่อหวอดในบริเวณที่ได้สำรวจไว้แล้วตอน หัวค่ำ พอรุ่งเช้าปลาทั้งสองก็จะจูงมือกันเข้าใต้หวอดทำการผสมพันธุ์กัน การผสมพันธุ์ของปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ใช้ในลักษณะตัวผู้งอตัวบริเวณท้องของตัวเมียเพื่อ ปล่อยน้ำเชื้อส่วนตัวเมียก็ปล่อยไข่ออกมาเพื่อทำการผสม เรียกการทำเช่นนี้ว่าการรัดปลา ไข่เมื่อถูกปล่อยออกมาและผสมกับน้ำเชื้อแล้วจะจมลงสู่ก้นภาชนะ พ่อปลาก็จะ ตามลงไปอมไข่เหล่านั้นแล้วไปพ่นไว้ในหวอด ขั้นตอนนี้บางครั้งเราอาจจะเห็นแม่ปลาช่วยอมไข่ไปพ่นไว้ในหวอดด้วย ในช่วงนี้เรียกว่าช่วงแห่งความรัก จะไม่มีการทำร้ายกัน หรือทำลายไข่แต่อย่างไร ปลาทั้งสองจะทำการผสมพันธุ์กันไปจนกระทั่งเสร็จ ครั้งหนึ่งอาจกินเวลานานขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ และน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการผสมพันธุ์แล้ว แม่ปลาที่ผ่านการรัดจะรู้สึกหิวและอ่อนเพลีย และในขณะนั้นก็มีแต่เพียงไข่ของตัวเองที่ได้ปล่อยออกมาเท่านั้น แต่ไม่ต้องห่วงครับปลาพ่อปลาคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด จะไม่มีผู้ใดมาทำอันตรายกับไข่ได้ พ่อปลาจะทำการไล่แม่ปลาออกไปให้พ้นบริเวณ เราจึงสมควรช้อนแม่ปลาออกจากภาชนะเพาะ โดยสังเกตุง่าย ๆ แม่ปลาจะอยู่ห่างจากบริเวณหวอดเรียกได้ว่าตรงกันข้ามเลยเพราะกลัวพ่อปลาทำ ร้าย และแล้วขั้นตอนการเพาะปลาก็เสร็จสิ้นลง ให้ปล่อยพ่อปลาดูแลไข่ในภาชนะเพาะต่อไปจนกว่าลูกปลาจะสามารถว่ายน้ำได้แข็ง แรง การที่ต้องปล่อยให้พ่อปลาดูแลอยู่นั้นเพราะลูกปลาเมื่อฟักออกจากไข่ยังไม่ สามารถว่ายน้ำได้ อาจร่วงลงก้นภาชนะได้ ในที่สุดก็จมน้ำตาย ลูกปลายังคงต้องอาศัยอากาศในหวอดเพื่อหายใจ เมื่อลูกปลาจมลงสู่ก้นภาชนะพ่อปลาก็จะตามลงไปอมและนำกลับไปพ่นไว้ในหวอด อีกทั้งยังคอยเติมหวอดขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุฉะนี้จึงจำเป็นต้อง ปล่อยพ่อปลาทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ข้อควรระวังอย่าเอาอะไรไปกวนไข่ในหวอดเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยากรู้เพียงใด การกระทำเช่นนี้อาจทำให้ไข่ร่วงลงสู่ก้นภาชนะ หรือเมื่อฟักเป็นตัวแล้วอาจพิการได้ ท่านที่พึ่งเริ่มเพาะควรระวังข้อนี้ไว้ให้ดี


ข้อควรคำนึงสำหรับนักเพาะปลากัด[การเลี้ยงปลากัด] เมื่อจับปลาพ่อแม่พันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ลงในอ่างเพาะแล้วให้คอยสังเกตุ ถ้าปลาตัวผู้ไม่แสดงอาการเกี้ยวพาราสีปลาตัวเมีย และไม่ยอมก่อหวอด อาจมีส่าเหตุมาจากหลายด้านด้วยกัน เช่นปลาตัวผู้นั้นมีอายุมากเกินไป หรือมีสุขภาพไม่แข็งแรง ตามความเป็นจริงแล้วปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ตัวผู้ที่มีความพร้อมจะก่อหวอดและรู้หน้าที่ของ ตัวเอง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นควรนำปลาตัวผู้นั้นออก นำไปพักและคอยดูแลเพื่อที่จะนำไปผสมใหม่อีกครั้ง ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ตัวผู้ที่ไม่เคยนำมาผสมพันธุ์เลย ไม่มีประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ หรือมีอายุน้อยเกินไป อาจทำให้ปลาตัวผู้นั้นไล่กัดปลาตัวเมีย โดยไม่คิดผสมพันธุ์ เราจึงต้องใช้ปลาตัวเมียที่ได้ผ่านการผสมพันธุ์มาแล้วจับคู่แทน  ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ตัวผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าวเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ การที่ปลาทั้งสองจะผสมพันธุ์กันได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างดี  ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ตัวผู้ไล่กัดตัวเมียก่อนผสมพันธุ์เป็นเรื่องปกติ และจะหยุดลงเมื่อปลาตัวผู้ได้ก่อหวอดเสร็จเรียบร้อย และฝ่ายตัวเมียก็จะว่ายน้ำในท่าหัวดิ่งเข้าหาอยู่ใต้หวอด ไม่มีการตอบโต้เมื่อตัวผู้แว้งเข้าใส่ ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ตัวเมียที่ไล่กัดปลาตัวผู้ มีสาเหตุมาจากปลาตัวเมียนั้นมีนิสัยที่ก้าวร้าวไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นแม่ พันธุ์อีกเช่นกัน ปลาตัวเมียที่ตัวใหญ่กว่าตัวผู้ หรือไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ อาจไม่ยอมผสมพันธุ์และไล่กัดปลาตัวผู้ หรือถูกตัวผู้ไล่กัดเพื่อให้ยอมผสมพันธุ์ เราควรแยกปลาออกจากกัน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ถ้าต้องการปลาทั้งคู่นั้นเป็นพ่อแม่พันธ์ควรเทียบคู่ให้นานขึ้น หรือเปลี่ยนจับคู่ให้ใหม่แทน การเพาะพันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]จึงควรทำตามขั้นตอน โดยผ่านการเทียบคู่จนกระทั่งสุกงอม ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]ที่มีปฏิกริยาต่อกันเวลาเทียบคู่จะสังเกตุได้ว่าปลาทั้งคู่จะว่ายเข้า หากัน ปลาตัวผู้แสดงอาการคึกคักในไม่ช้าก็ก่อหวอด ถ้าไม่ก่อหวอดหรือไม่คึกคักควรเปลี่ยนปลาตัวผู้นั้นเสีย ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะพันธุ์ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]จึงควรคำนึงถึงพ่อแม่พันธุ์ในด้านความ เหมาะสมเป็นข้อหลัก และความพร้อมในการผสมพันธ์ ไม่ต้องรีบร้อนผสมพันธุ์ ปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายแค่ข้ามคืนเราก็จะได้ไข่ปลาที่พร้อมจะเป็น ลูกปลา นับร้อยนับพัน จึงควรพิถีพิถันในขั้นตอนนี้อย่างจริงจัง เพื่อไม่ไห้ผิดพลาด เพราะเมื่อไม่สำเร็จอาจท้อถอย เสียทั้งเวลาหรืออาจหมดกำลังใจ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่4

การเลี้ยงปลากัด เลี้ยงปลากัดสีสันสวยงามเพาะพันธุ์ง่ายปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานพอสมควรแล้ว จนมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีหลากหลายของสีสันเพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด การเลี้ยงปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อพันธ์แม่พันธ์ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปเป็นอย่างน้อย มีความสมบูรณ์เต็มที่โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียแล้วจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้นได้เป็นจำนวนมาก ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่เป็นจำนวนมาก การเลี้ยงปลากัดเมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นกว่าปรกติซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กันนั้นเอง การเลี้ยงปลากัดเมื่อเทียบปลาไปได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ให้ทำการนำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ของปลากัดตัวเมีย และไข่จะจมลงไปสู่ก้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้แม่ปลากัดกินไข่ของตัวเอง แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน การเลี้ยงปลากัดไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในระยะเวลาประมาณ 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในช่วงระยะเวลา 3-4 วันแรกเท่านั้นยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดตัวอยู่หลังจากที่ฝักออกมาแล้ว เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย
นี่เป็นขั้นตอนหนึ่งใน การเลี้ยงปลากัด ที่ จะเป็นพื้นฐานให้กับผู้เลี้ยงได้ครับ

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่ 3

การเลี้ยงปลากัด
การเลี้ยงปลากัด ใช่ว่าจะเลี้ยงไว้เพื่อกัดกันอันซึ่งเป็นการพนัน ขันต่อกันแต่เพียงประการเดียว ยังมีการเลี้ยงไว้ดูเล่นเพื่อความสวยงามอีกด้วย และการเล่นแบบนี้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งนี้เพราะปลากัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมิใช่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งในปัจจุบันสีของปลากัดยิ่งสวยงามขึ้นเป็นอย่างมาก

การเลี้ยงปลากัดสามารถจำแนกประเภทของการเลี้ยงแบบต่างๆได้เป็นดังนี้
การเลี้ยงปลากัด เพื่อเอาไว้ดูเล่น

ถ้า มีความประสงค์จะเลี้ยงปลากัดไว้ดูเล่นอยู่กับบ้านโดยไม่ต้องหวังจะกัดแข่ง ขันกับใครแล้วละก็ย่อมกระทำได้เช่นกัน จะเลี้ยงไว้ในภาชนะไม่ว่าจะเป็นขวดโหล หรือตู้ปลาขนาดเล็กได้ตามต้องการเลยครับ สำหรับสถานที่จะตั้งเลี้ยงตรงไหน ซอกมุมใด ก็ย่อมทำได้ตามความเหมาะสม แล้วแต่ความสวยงามของสถานที่นั้นๆเลยครับ

ใน กรณีที่ต้องการเลี้ยงปลากัด ในตู้ปลาร่วมกับปลาอื่นๆก็ย่อมกระทำได้เช่นกัน ปลากัดจะไม่ค่อยมีพฤติกรรมก้าวร้าวนัก ซึ่งผู้เลี้ยงเริ่มคิดที่จะมีปลาต่างๆมักมองข้าม การเลี้ยงปลากัด นี้ไป อาจเนื่องมาจากตามร้านขายปลาจะแยกเลี้ยงปลากัดไว้ในขวดโหลซึ่งทำให้เราคิดว่ามันต้องเป็นปลาที่ต้องอยู่ตัวเดี๋ยวเพียงลำพัง ประกอบกับเหตุผลที่ว่าปลากัดเป็นปลานักสู้ ผู้เลี้ยงกลัวว่าจะไปรบกวนปลาในตู้ให้เกิดการเสียหายได้

เพราะว่าปลากัด สามารถหายใจโดยหุบอากาศจากผิวน้ำได้ แม้ว่าในน้ำจะมีออกซิเจนไม่เพียงพอ ปลากัดก็สามารถเลี้ยงไว้ในขวดหรือโหลได้โดยไม่เอาใจใส่เรื่องน้ำมากเหมือนกับ การเลี้ยงปลาตู้ทั่วไป อย่างไรก็ดีโดยธรรมชาติแล้ว การเลี้ยงปลากัด ก็เหมือนกับปลาทั่วๆไป คือเป็นปลาที่ต้องการอยู่ในน้ำที่มีความสดใส สะอาด และคุณภาพดี นั้นเอง ดังนั้นถ้านำปลากัดมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาที่มีระบบกรองน้ำและปั๊มอากาศแบบที่ นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ข้อดีของ การเลี้ยงปลากัด ในตู้ก็คือปริมาณออกซิเจนเหนือผิวน้ำมีมากเกินพอ สำหรับปลากัดเมื่อเทียบกับปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในขวดโหลทั่วไป ทำให้ปลามีสุขภาพสมบูรณ์ยิ่งกว่าการเลี้ยงในขวดโหล ซึ่งปลากัดที่เลี้ยงในขวดโหลจะไม่ร่าเริงเท่ากับที่เลี้ยงไว้ในตู้ ชอบนอนนิ่งๆ อยู่ก้นขวด ครีบทุกครีบหุบตลอดเวลา ตรงกันข้ามถ้านำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในตู้ปลา ปรากฏว่าปลากัดจะมีความร่าเริงมาก ว่ายน้ำขึ้นลงเพื่อฮุบอากาศ ครีบกางออกอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นอย่างแน่ชัดว่าปลากัดชอบอยู่ในน้ำที่มีสภาพสมบูรณ์และมีพื้นที่ อย่างกว้างๆกว่าอยู่ในขวดอย่างแคบๆ ทำให้ดูสวยงามเป็นที่ต้องตื่นตาอยู่ตลอดเวลา การเลี้ยงปลากัด ไว้ดูเล่นนี้แม้ว่ามีปลากัดตัวผู้อยู่เพียงตัวเดียวก็อาจทำ ให้มีการต่อสู้ได้เหมือนกัน โดยเอากระจกไปพิงไว้กับข้างภาชนะที่ใส่มันไว้ นั่นคือให้มันกัดต่อสู้กับเงาของมันเอง บ้างเพื่อให้มันไม่ลืมสัญชาติญาณของตัวเอง

การเลี้ยงปลาักัด ไว้กัดแข่งขัน
ถ้าต้อง การเลี้ยงปลากัด เพื่อกัดแข่งขันแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาประการแรกคือ เรื่องสถานที่เลี้ยงมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ยิ่งสำหรับนักเลี้ยงปลาไว้เพื่อกัดแข่งขันเป็นอาชีพต้องคำนึงถึงสถานที่ให้ มากด้วย เพราะถ้าเราเลี้ยงปลาไว้ในที่ที่สงบหรือมืดเช่น ในมุมหนึ่งมุมใดของบ้าน ไม่มีคนพลุกพล่าน หรือเลี้ยงไว้ในที่ไม่มีคนเดินผ่านจะทำให้ปลาเคยชินกับความสงบ เวลาเอาไปกัดแข่งขันแล้วในสถานที่แข่งขันนั้นย่อมมีคนมาก และมีความสว่างพอสมควร จะทำให้ปลาตื่นตกใจหลบวูบวาบอยู่เสมอ ไม่เป็นอันกัดคู่ต่อสู้ ดังนั้นถ้าจะเลี้ยงปลาไว้กัดแข่งขันควรเลี้ยงไว้ที่โล่งซึ่งมีคนผ่านไปผ่าน มาบ่อยๆเพื่อให้มันชินกับคนและแสงสว่าง เวลาเอาออกสนามเข้ากัดแข่งขันมันจะไม่ตื่นตกใจเมื่อเห็นคนมากหน้าหลายตา ก็เหมื่อนกับคนเรานั้นแหละครับ

นอกจาก ที่กล่าวมาแล้ว สถานที่ การเลี้ยงปลากัด ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีในฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อุณหภูมิน้ำสูงเกินไป อุณหภูมิน้ำไม่ควรเกิน 30 องศา ส่วนในฤดูหนาวอุณหภูมน้ำส่งผลให้ปลากินอาหารน้อยหรือไม่กินอาหารเลยอันเป็น สาเหตุให้ปลาตายได้เช่นกัน

สำ หรับภาชนะที่ในการเลี้ยงปลากัดนี้ ควรเป็นภาชนะขนาดเล็กที่ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ มีช่องเปิดไม่กว้างนัก ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา)ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 วีซี. เพราะสามารถวางเรียงกันได้ดีไม่เปลืองเนื้อที่ เพราะปากขวดแคบๆสามารถป้องกันปลากระโดดได้ และป้องกันศัตรู เช่น แมง จิ้งจก ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี และหากมีเนื้อที่น้อยก็สามารถทำชั้นวางปลากัดไว้เป็นชั้นๆ แบบขั้นบันไดได้ วางขวดที่เลี้ยงปลา(ปลาตัวผู้)ในและครอกแยกกันเพื่อความสะดวกในการคัดเลือก หาคู่(ครอก)ที่กัดเก่งที่สุด

การ ปล่อยปลาเลี้ยงนี้ก็ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง หากปล่อยให้ปลาตกพื้นอาจทำให้ปลาบอบช้ำและเป็นโรคตายได้ สำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่างประมาณ6.5-7.5 มีความกระด่าง 75-100มิลลิกรัมต่อลิตร หลังจากทำความสะอาดขวดแล้วควรบรรจุน้ำเพียง 3ใน4 ของขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับน้ำ และปลากัดสามารถหายใจได้โดยการฮุบอากาศบริเวณผิวน้ำ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเพิ่มออกซิเจนแต่อย่างใด ส่วนพันธุ์ไม้น้ำที่ใส่ควรใส่ใบตองแห้งแทน โดยฉีกใส่เพียงเล็กน้อย

สำหรับอาหารของการเลี้ยงปลากัดนี้มีผู้ให้ต่างๆกันไป อาหารที่นิยมให้ปลากัดกินมีดังนี้

1. ลูกน้ำ
2. ไข่ไร
3. ลูกไร
4. ไข่ปลา
5. ลูกหมัดหมา(ลุกปลาที่เพิ่งออกจากไข่)

ใน บางฤดูกาลหากไม่สามารถหาอาหารสำหรับ การเลี้ยงปลากัด ได้ดังกล่าวได้ ก็สามารถให้อาหารเนื้อประเภทอื่นที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆทดแทนได้ เช่น หัวใจปลา กุ้ง เนื้อหมู เป็นต้น แต่ปลาจะไม่แข็งแรงและน้ำจะเน่าเลียได้ง่าย ซึ่งเป็นเหตุให้ความสมบูรณ์แข็งแกร่งไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็มีบางคนกล่าวว่าการให้อาหารประเภทกุ้งสดนี้มันทำให้ปลาอ้วนไม่ว่องไว เวลานำเข้ากัดแข่งขัน ซึ่งนักเล่นปลาที่ชำนาญจะใช้ลูกน้ำอย่างเดียวเท่านั้น เพราะลูกน้ำเป็นอาหารประเภทสร้างกำลังให้กับปลากัดได้ดี โดยให้กินแต่พอดีจะไม่ทำให้ปลาอ้วนเกินไป อาหารที่มีชีวืตโดยเฉพาะลูกน้ำนี้มักจะได้จากการรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคที่ติดต่อถึงปลาได้ ดังนั้นก่อนใช้เลี้ยงปลาทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1000ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่งจึงใช้เลี้ยง โดยควรให้วันละ 1 ครั้ง ปริมาณที่ให้ก็พอดีปลากินอิ่ม หากให้อาหารมากเกินไปอาหารที่เหลือในขวดอาจตายทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นสาเหตุให้ปลาเป็นโรคและตายได้ ถ้าหากให้อาหารน้อยเกินไปก็จะทำให้ปลามีความไม่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่สามารถกัดแข่งขันได้ดีตามต้องการ

ระหว่าง การเลี้ยงดูนี้การถ่ายเทน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แต่การถ่ายเทน้ำจะแตกต่างจากปลากัดที่เลี้ยงไว้ในตู้ ซึ่งมักจะใช้ชีวิตดูดของเสียและเศาอาหารเหลือนอนก้นก่อนแล้วจึงถ่ายน้ำเก่า ออกเพียง 1/4 - 1/2 ของปริมาณน้ำทั้งหมด สำหรับปลากัดซึ่งเลี้ยงในภาชนะแคบๆยากที่จะกำจัดของเสียได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีเทน้ำเก่าทิ้งทั้งหมดโดยไม่ต้องจับปลาออกจากขวด แล้วจึงเติมน้ำใหม่ทันที แต่ทั้งนี้น้ำที่มาเปลี่ยนใหม่จะต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำจากมีสิ่ง ปฏิกูลหมักหมมท่บริเวณด้านข้างหรือก้นขวด โดยการจับปลาออกจากขวดเก่าใส่ในขวดใหม่ที่สะอาดเพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเลี้ยงปลากัดที่มีอายุซัก3เดือนก็กัดได้ แต่การกัดของปลาอายุยังน้อยจะเอาให้เก่งกันจริงๆย่อมไม่ได้ แม้ตัวจะเท่ากันหากไปจับคู่กับปลาที่แก่กว่า จะสู้ปลาที่มีอายุแก่กว่าไม่ได้ เพราะความเหนียวของเนื้อ ความแข็งของเกล็ด ความแข็งของปาก สู้ปลาที่แก่กว่าไม่ได้ สำหรับปลากัดที่เหมาะสมแก่การที่จะนำเข้ากัดแข่งขันนั้นต้องเป็นปลาที่มี อายุชนขวบ คือมีอายุเต็มปี เพราะปลากัดที่มีอายุ1ปีนี้จะเป็นปลาที่แกร่งและแข็งแรงพอที่จะเป็นนักสู้ ได้อย่งสมบูรณ์พร้อมท่จะเข้ากัดแข่งขันได้อย่างดี

การเลี้ยงปลากัด ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายนะครับ ใครสนใจก็ลองทำตามวิธีข้างต้นได้เลยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่2-การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้
เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัด
จึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบน
เพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยก
ปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้
ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆ
ทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ
1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม
ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาด
มักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง
มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมี
ขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสีย
หายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดู
เพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้[การเลี้ยงปลากัด]


1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน
ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว
2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัด
ีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่า
ของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย
สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่า
ลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลากัดตัวเมีย
แม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้ว จึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่ ี่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุรา
ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหา
ได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวด
พิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้น
เปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่ง
ทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็น
ขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภท
หรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย
ในท้องตลาด

นอกจากนั้นแล้วต้องหาสถานที่ๆ ค่อนข้างจะสงบเงียบ
และมีอากาศถ่ายเทได้ดีจะเหมาะกับการเลี้ยงปลากัดมากๆ โดย เฉพาะในฤดูร้อน เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อุณหภูมิน้ำสูงเกินไป
อันจะเป็นสาเหตุ ให้ปลาตายได้ อุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่ควร ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส ควรอยูุ่่ระหว่าง
26-28 องศาเซลเซียส หากเป็นช่วงหน้าหนาวก็ไม่
ควรให้ต่ำกว่า 20องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ปลา
ไม่กินอา่หารและทำให้้ปลาตายได้

ภาชนะที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัดควรเป็นภาชนะขนาดเล็กที่ไม่
สิ้นเปลืองพื้นที่ มีช่องเปิดไม่กว้่างเพื่อป้องกันปลากระโดด
และป้องกันศัตรูของปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ ภาชนะที่เหมาะสม ที่สุดที่ควรนำมาใช้ในการเลี้ยงปลากัดได้แก่
ขวด(สุรา) ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถวางเร่ยงกันได้ดีไม่สิ้นเปลืองพื้นที่ และ
ปากขวดแคบๆ สามารถป้องกันปลา
กระโดดและป้องกันศัตรูได้เป็นอย่างดี และหากมีเนื้อที่น้อยก็สามารหถทำชั้นวางขวดปลากัด
เป็นชั้นๆ แบบขั้นบันไดได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลากัดตอนที่1

การเลี้ยงปลากัดสีสวยเพาะพันธุ์ง่าย
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว จนมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีหลากหลายสี เป็นที่ต้องการของตลาด การเพาะพันธุ์ปลากัดหรือการเลี้ยงปลากัดเริ่มแรกจะต้องเลือกพ่อแม่ปลาที่มีอายุ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีความสมบูรณ์เต็มที่
โดยจะสังเกตได้จากตัวผู้เมื่อนำ มาเทียบกับตัวเมียจะว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและก่อหวอดขึ้น ส่วนตัวเมียที่บริเวณท้องจะมีลักษณะอูมบวมเพราะมีไข่อยู่ เมื่อได้พ่อแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์แล้ว ก็นำมาแยกใส่ขวด โหล ตั้งไว้ติดกันเพื่อให้ตัวเมียไข่สุกเร็วขึ้นซึ่งฤดูกาลควรจะเริ่มในช่วง เดือนพฤษภาคม-กันยายน เพราะถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยผสมพันธุ์กัน เมื่อเทียบปลาไปได้
ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็นำใส่ลงในบ่อปูนหรือกะละมัง ก็ได้ โดยให้มีระดับน้ำพอเหมาะ และควรใส่ไม้น้ำลงไปเพื่อให้พ่อปลาก่อหวอดหลังจากนั้น 2 วัน พ่อปลาจะเริ่มก่อหวอดและคลี่ครีบไล่ต้อน ตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดเพื่อรัดท้องแม่ปลารีดไข่ให้ออกมาแล้วฉีดน้ำเชื้อลงในไข่ และไข่จะจมลงไปสู่พื้นบ่อ พ่อปลาจะว่ายไปอมไข่มาไว้ที่หวอด เมื่อแม่ปลาวางไข่หมดแล้วให้นำออกจากบ่อป้องกันไม่ให้กินไข่ แล้วปล่อยให้พ่อปลาดูแลไข่ประมาณ 2 วัน จึงนำออกจากบ่อเพาะเช่นเดียวกัน ไข่ปลาจะเริ่มฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 36 ชั่วโมง แล้วจะเกาะอาศัยอยู่ที่หวอด ในระยะ 3-4 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกปลามีถุงอาหารติดอยู่หลังจากที่ฝักออกมา เมื่อถุงอาหารยุบแล้วก็เริ่ม ให้อาหารเป็นไข่แดงต้มสุกละลายน้ำ กรองผ่านกระชอนตาถี่วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 - 5 วันจึงเปลี่ยนไปให้ไรแดงขนาดเล็กแทน จนกระทั่งปลากินลูกน้ำได้ ซึ่งจะสามารถแยกเพศเมื่อปลาได้อายุ 45 วันขึ้นไป และเมื่อปลาเริ่มกัดกันจึงค่อยแยกใส่ขวดโหลขวดละตัว ปลากัดตัวผู้จะมีสีสันและความสวยงามมากกว่าปลากัดตัวเมีย แต่ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลากัดตัวเมีย
-การเลี้ยงปลากัดเพื่อการค้าหรือการเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม