วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]

การอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]
เมื่อการผสมพันธุ์เสร็จสิ้นลง แม่ปลากัดได้ไห้ไข่จำนวนมาก ให้จับแม่ปลากัดออกจากบ่อเพาะเลี้ยง ควรจะกระทำอย่าให้กระทบกระเทือนกับไข่ที่อยู่ในหวอด ปล่อยให้พ่อปลากัดคอยดูแลไข่ต่อไป ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ภายใน 36 - 48 hour ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ก็จะเริ่มฟักเป็นตัว ในระยะนี้เรียกว่า "หมัดหมา" จะเกาะกันแน่นอยู่ภายในหวอด โดยมีพ่อปลากัดคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกปลากัดเมื่อเป็นตัวใหม่ ๆ ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ต้องอาศัยแขวนลอยอยู่ในหวอด เมื่อร่วงหล่นลงมา พ่อปลากัดจะตามลงไปอมมาพ่นไว้ในหวอด ลูกปลาในช่วงนี้ยังไม่ต้องการอาหารเพราะมีถุงไข่แดง (Yolk Sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นในช่วงระยะ 2 - 3 dayแรกยังไม่จำเป็นที่จะให้อาหาร ลูกปลาในครอกหนึ่ง ๆ นั้นการเจริญเติบโตจะไม่เท่ากัน "ปลาหัวไข่" หมายถึงไข่ปลาที่ถูกรัดในทีแรก ๆ เมื่อเป็นตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าและเจริญเติบโตได้เร็วกว่าลูกปลาที่ถูกรัดใน ตอนหลัง จึงควรคำนึงถึงข้อนี้ด้วยว่าลูกปลาต้องการอาหารเมื่อไร


จากการวิจัย โดยอาจารย์dayเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ ถึงการเจริญเติบโตของลูกปลากัดตั้งแต่อายุได้ 1 ถึง 30 day พบว่า ลูกปลากัดอายุ 1 day ตัวอ่อนจะแขวนลอยตัวอยู่ในหวอด ส่วนหัวคล้ายลูกน้ำ บริเวณท้องจะมีถุงสะสมอาหารมองเห็นเป็นถุงกลมพบมีรงควัตถุสีดำบริเวณหัวและ ถุงสะสมอาหาร ลำตัวมีลักษณะสีขาวขุ่น มีเยื่อครีบเกิดขึ้นรอบ ๆ ลำตัวจะเจริญต่อไปเป็นครีบ ครีบก้น และครีบหาง สังเกตุเห็นครีบอกได้เด่นชัด เริ่มสังเกตุเห็นปากและรูก้น ตามีสีดำและเด่นชัด ลูกปลาอายุ 2 day ตัวอ่อนยังแขวนลอยติดกับหวอด ถุงสะสมอาหารของตัวอ่อนจะเริ่มยุบลงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด รูก้นยื่นจากลำตัวเห็นชัด เริ่มสังเกตุเห็นรอยแยกระหว่างกระพุ้งแก้มกับลำตัว กระดูกสันหลังเจริญดีขึ้นซึ่งเป็นแกนของลำตัว ลักษณะเป็นข้อ ๆ และก้านยื่นตามแนวเหมือนหนามเกิดขึ้นในแต่ละข้อ ลูกปลาอายุ 3 day ตัวอ่อนจะมีถุงอาหารยุบลงเหลือเพียงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด พร้อมที่จะกินอาหาร เยื่อครีบยังไม่แยกออกเป็นครีบหาง ครีบก้น ครีบหลัง และเริ่มสังเกตุเห็นระบบทางเดินอาหาร ลูกปลาอายุ 4 day ตัวอ่อนลูกปลาเริ่มว่ายน้ำสลับกับลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ถุงอาหารยุบหมด เห็นระบบทางเดินอาหารเด่นชัดขึ้น และมีกระเพาะลมเกิดขึ้นเหนือทางเดินอาหาร เยื่อครีบเริ่มคอดเว้าแบ่งส่วนของครีบหาง ครีบก้น และครีบหลัง ลูกปลาอายุ 5 day ตัวอ่อนลูกปลาจะเริ่มแข็งแรงขึ้น บริเวณท้องมีสีเข้มทึบไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ ส่วนของเยื่อครีบจะเกิดป็นครีบ และครีบหางเริ่มกลมมน ลูกปลาอายุได้ 6 - 9 day ตัวอ่อนของลูกปลาจะมีส่วนท้องหนาเพิ่มขึ้น กระดูกบริเวณส่วนหางจะโค้งงอขึ้น เริ่มสังเกตุเห็นก้านครีบของครีบหาง แต่ก้านครีบยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลักษณะของกระดูกสันหลังเห็นข้อและหนามที่ยื่นออกมาตามข้อเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ลูกปลาอายุ 10 day ลูกปลาจะเริ่มหากินเหมือนกับตัวเต็มวัย เยื่อครีบแบ่งออกเป็นครีบหลัง ครีบหางมีก้านครีบ 8 ก้าน แต่ไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ และเห็นครีบก้นอย่างชัดเจน ลูกปลาอายุ 15 day ลูกปลาจะเริ่มมีลำตัวทึบแสง ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน เห็นกระเพาะลมเด่นชัด ครีบหางเปลี่ยนเป็นรูปกลมมน มีก้านครีบ 10 ก้าน ยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลูกปลาอายุ 30 day ลูกปลาจะมีลำตัว หนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทึบแสงไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน มีรงควัตถุกระจายบริเวณลำตัวและหัวมี แถบสีดำ 2 แถบขนานกันอยู่กลางลำตัวจากหัวไปถึงโคนหาง ครีบก้นมีก้านครีบ 27 ก้าน ครีบหลัง มีก้านครีบ 11 ก้าน มีลักษณะเหมือนกับตัวเต็มวัย

"ลูกหมัดหมา"ที่อาศัยแขวนลอยในหวอด

การอนุบาลลูกปลา หลังจากที่ถุงอาหารเริ่มยุบลง และลูกปลาเริ่มว่ายน้ำได้แข็งแรง ให้สังเกตุเมื่อเวลามีสิ่งแปลกปลอมผ่านบริเวณบ่อเพาะเลี้ยง ลูกปลาจะว่ายน้ำพุ่งไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็ว ลูกปลาเริ่มต้องการอาหารใน การเจริญเติบโต อาหารที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลา ได้แก่ โรติเฟอร์ ลูกไรแดง ลูกอาร์ทีเมีย เมี่อลูกปลาเริ่มโตขึ้นก็เปลี่ยนเป็น ไรแดง อาร์ทีเมีย ตัวเต็มวัย หรือลูกน้ำต่อไป

โรติเฟอร์ เป็นอาหารมีชีวิตที่เหมาะสมต่อการอนุบาลลูกปลาในวัยอ่อนได้ดี มีขนาดเล็กมาก และมีคุณค่าทางอาหารสูง และเคลื่อนไหวได้ช้า มีหลายสายพันธุ์ทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม (ติดตาม การเพาะเลี้ยงโรติเฟอร์ ได้ใน คนรักปลา.คอม)  ไรแดง เป็นอาหารธรรมชาติที่ดีอีกชนิดหนึ่งในการอนุบาลลูกปลากัด[การเลี้ยงปลากัด]  มีคุณค่าทางอาหารสูง และหาได้ง่าย การเพาะเลี้ยงไรแดง อาร์ทีเมีย ไรน้ำสีน้ำตาลหรือไรน้ำเค็ม เป็นแพลงค์ตอนสัตว์น้ำเค็ม มีคุณค่าทางอารหารสูง มีราคาไม่แพง แต่มีข้อเสียที่ไม่สามารถอาศัยอยูในน้ำจืดได้นาน การเพาะเลี้ยงไรน้ำเค็มอาร์ทีเมีย


การหาอาหารใช้เลี้ยงลูกปลา นั้นบางครั้งจะต้องหาอาหารที่ลูกปลาสามารถกินได้ ไม่ใหญ่จนเกินไป มีวิธีบางอย่างที่สามารถช่วยให้ลูกปลานั้นมีอัตราการรอดสูง ต้องคำนึงถึง ขนาดที่พอดีกับปาก ปริมาณที่ให้ และจำนวนลูกปลาที่มีอยู่ ความสะอาดของอาหารที่ให้ด้วย การใช้ไรแดง เป็นอาหารลูกปลา วิธีง่าย ๆ เมื่อซื้อมาหรือไปหามาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ทำความสะอาดด้วยการเทไรแดงที่ได้มาใส่กะละมังที่มีน้ำสะอาดใส่อยู่ รอสักพักเพื่อให้ไรที่มีชีวิตลอยขึ้นผิวน้ำเป็นแพ ใช้กระชอนตาถี่ ๆ ช้อนไรแดงนั้นใส่ในกะละมังที่มีน้ำสะอาดอีกใบหนึ่ง จนกว่าจะหมด เมื่อได้ไรแดงที่อยู่ในน้ำสะอาดให้หาขันพลาสติกที่ใส่น้ำสะอาด ไว้อีกหนึ่งใบ ช้อนไรแดงที่ลอยบนผิวน้ำในกะละมังด้วยกระชอนตาถี่ ๆ แล้วนำกระชอนนั้นไปแช่ไว้ในขัน โดยให้ปากของกระชอนพาดอยู่ที่ขอบของขันพลาสติก ทิ้งไว้เฉย ๆ ตัวอ่อนของไรแดงที่มีขนาดเล็กจะหลุดออกมาจากกระชอนอยู่ในขันพลาติกจำนวน มาก ใช้อนุบาลลูกปลาได้ดี การที่จะได้ตัวอ่อนของไรแดงจำนวนมาก ให้นำไรแดงที่ได้มาใส่กะละมังทิ้งไว้ข้ามคืน โดยเปิดเครื่องปั้มอากาศไว้ แล้วใช้แป้งหมี่ที่มีขายตามร้านชำทั่วไปมาใส่แก้วแช่น้ำไว้ตีให้เข้ากัน ทิ้งไว้สัก 10 นาที ตีให้เข้ากันอีกครั้ง ( ถ้าทิ้งข้ามคืนไว้ยิ่งดีมาก) ใช้ช้อนแกงตักน้ำแป้งที่ได้ใส่ลงไปในกะละมังไร แดง 3 hourต่อครั้ง ๆ ละ 3 - 4 ช้อนแกง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนไรแดงที่ได้มา เวลาผ่านไปไรแดงที่มีความสมบูรณ์จะ ให้ตัวอ่อนจำนวนมาก ให้ใช้วิธีเดิมในการกรองตัวอ่อน นำไปเลี้ยงลูกปลาได้ เช่นเดียวกันสำหรับไรทะเล หรืออาร์ทีเมีย จากบทความในการเพาะไรน้ำเค็ม ให้ตีน้ำเกลือ โดยใช้อัตราส่วน เกลือ 300 กรัม (3 ขีด): น้ำ 1 ลิตร นำไรทะเลที่ซื้อมาใส่ลงไปทิ้งไว้ข้ามคืน โดยใช้วิธีเดียวกับไรแดง เราจะได้ตัวอ่อนของอาร์ทีเมียจำนวนมาก แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ที่ได้เพาะฟักจากไข่อาร์ทีเมียเล็กน้อย วิธีที่ได้กล่าวมานี้ได้ผ่านการทดลองและใช้งานจริงมาแล้วได้ผลดี ข้อเสียที่มีคือ ไรแดงและไรทะเลที่ใช้วิธีนี้ได้ไม่เกิน 2 day จำนวนตัวอ่อนจะลดน้อยลง ควรนำไรแดงและไรทะเล ไปให้ปลากัดที่มีขนาดใหญ่กินต่อไป และเริ่มทำอีกจนกว่าลูกปลาสามารถกินตัวเต็มวัยได้

หมายเหตุ พ่อปลากัดที่เลี้ยงลูกอยู่ในระยะแรก การให้อาหารควรจะเป็นไรแดง จะเหมาะสมที่สุด ไรแดงที่สมบูรณ์จะให้ตัวอ่อนจำนวนมาก ขณะที่พ่อปลากัดกินไม่หมด ไรแดงจะให้ตัวอ่อนซึ่งพ่อปลากัดไม่สามารถมองเห็นได้ ปลาหัวไข่ที่ต้องการอาหารก่อนจะได้ใช้อาหารส่วนนี้ในการเจริญเติบโต การทำเช่นนี้เรียกว่า "การลอยไร"

การใช้อาหารทดแทนเพื่ออนุบาลลูกปลา ระยะเริ่มแรกลูกปลาต้องการอาหารโปรตีนจำนวนมาก การใช้อาหารทดแทนในช่วงแรกด้วยการใช้ไข่แดงต้มสุก ไม่ว่าจะเป็น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ก็ตาม มีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนอาหารมีชีวิตที่มีขนาดเล็กได้ คือ ต้มไข่ให้สุกในน้ำเดือดนาน ๆ จนแข็ง นำเฉพาะไข่แดงที่ได้มาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มาขยี้ผ่านกระชอนตาถี่ในชามที่ ใส่น้ำไว้เล็กน้อย เมื่อได้ไข่แดงที่ละเอียดดีแล้วให้เทใส่ ฟ๊อกกี้ (ที่ฉีดพ่นน้ำสำหรับรีดผ้า) เติมน้ำลงไปอีก นำไปฉีดพ่นใส่แก้วน้ำที่ใส่น้ำไว้เต็มแก้ว สังเกตุดูละออองของไข่แดงในแก้วน้ำว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใด ถ้ามีความหนาแน่นมากให้เติมน้ำลงไปอีก จนสังเกตุได้ว่าละอองไข่แดงแยกกระจายดีไม่เกาะกันเป็นกลุ่มหนาแน่น ความหนาแน่นของละอองไข่ถ้ามากและลูกปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ (การทดสอบเพื่อให้ทราบความหนาแน่นของละอองไข่จึงจำเป็นมาก ละอองไข่ที่ไม่หนาแน่นจะค่อย ๆ จมลงสู่ก้นบ่อเพาะอย่างช้า ๆ พอดีกับที่ลูกปลากินได้ทัน และไม่มากจนเกินไป ป้องกันน้ำเสียได้ดี) นำไปฉีดพ่นในบ่อเพาะเลี้ยงปลากัด เพื่อใช้แทนอาหารมีชีวิตได้ดีในช่วงแรกของการอนุบาลลูกปลา

ข้อควรคำนึงในการอนุบาลลูกปลา การ ใช้อาหารเพื่ออนูบาลลูกปลาควรให้แต่พอเพียงในครั้งหนึ่ง ๆ เท่านั้น ถ้าเป็นไรน้ำจืดก็จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก ถ้าเป็นไรทะเล ที่อาศัยในน้ำทะเลซึ่งไม่สามารถอาศัยในน้ำจืดได้นาน จึงควรระวังให้ดี ในกรณีที่นำพ่อปลากัดออกเร็ว ต้องคอยระวังลูกน้ำชนิดหนึ่ง ที่ดูดเอาน้ำเลี้ยงของลูกน้ำอีกชนิดหนึ่งเป็นอาหาร ผมไม่ทราบว่าเป็นสายพันธุ์ใหน ลูกน้ำนั้นสามารถจับลูกปลามาดูดน้ำเลี้ยงภาย ในตัว ครั้งหนึ่ง ๆ จะมีลูกน้ำชนิดนั้นจำนวนมากในบ่อเพาะ ต้องตักออกจากบ่อเพาะเลี้ยงทันที การเอาพืชน้ำมาเพาะปลาก็ควรจะทำความสะอาดให้ดี อาจมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่พึงปราถนาปะปนมา โดยเฉพาะตัวอ่อนของแมลงปอ เพียงชั่วคืนลูกปลาจะหายไปหมด การอนุบาลไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีความพิถีพิถันสักเล็กน้อย ถ้าได้ทำการเพาะเลี้ยงบ่อยเข้าจะทำได้อย่างไม่ติดขัด ขอให้ท่านที่เริ่มเพาะปลากัดประสบความสำเร็จกันทุกท่านครับ